Share

สมาธิสั้น ปัญหาของเยาวชนรุ่นใหม่ท่ามกลางความท้าทายของปัจจัยสิ่งรอบข้าง

Last updated: 12 Jul 2025
19 Views
สมาธิสั้นเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองยุคใหม่กำลังต้องให้ความสำคัญ
สมาธิสั้น ถูกพูดถึงบ่อยในสังคม โดยเฉพาะในหมู่ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยและวัยประถม หลายคนรู้สึกกังวลเมื่อลูกไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดได้นาน หรือมีพฤติกรรมที่ดูเหมือนไม่อยู่นิ่ง แต่แท้จริงแล้ว สมาธิสั้นไม่ใช่แค่ความซุกซน หรือการขาดวินัยในบ้าน สิ่งที่น่าห่วงคือ คำนี้กำลังถูกใช้แบบเหมารวม และทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน เช่น เด็กที่เบื่อง่าย เล่นไม่นาน เปลี่ยนกิจกรรมบ่อย ก็อาจถูกมองว่าสมาธิสั้นทั้งที่จริงอาจมาจากปัจจัยแวดล้อม เช่น การเลี้ยงดูด้วยหน้าจอมากเกินไป ขาดกิจกรรมที่ส่งเสริมการจดจ่อและรอคอย หรือขาดการนอนหลับที่มีคุณภาพ
สิ่งสำคัญที่สุดคือ การสังเกตอย่างเข้าใจ และไม่รีบติดป้ายให้ลูก การพูดคุยกับครูผู้ดูแล การรับคำปรึกษาจากนักกิจกรรมบำบัด หรือแพทย์เฉพาะทางจะช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจพฤติกรรมของลูกได้อย่างถูกต้อง และหาวิธีช่วยเหลือที่เหมาะสม

สมาธิสั้น มีความเสี่ยงจากปัจจัยใดบ้างในปัจจุบัน
ในปัจจุบันนอกจากปัจจัยทางชีวภาพและพันธุกรรมแล้ว ปัจจัยด้านสื่อ เทคโนโลยีและ พฤติกรรมการเลี้ยงดู รวมถึงสิ่งแวดล้อม มีความเสี่ยงมากในการเร่งให้สมาธิสั้น เร็วและรุนแรงมากขึ้น เช่นการใช้หน้าจอ (มือถือ, แท็บเล็ต, ทีวี) ตั้งแต่อายุยังน้อย การใช้หน้าจอเป็นเวลานานโดยขาดการควบคุม
การขาดกิจกรรมที่ฝึกให้เด็กจดจ่อ รอคอย หรือมีเป้าหมาย พ่อแม่ไม่มีเวลาเล่นหรือฝึกทักษะกับลูก เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งกระตุ้นมากเกินไป เช่น ของเล่นเยอะ วุ่นวาย 



 



 สมาธิสั้นในเด็ก สามารถป้องกันได้อย่างไรบ้าง
เราสามารถลดความเสี่ยง และส่งเสริมทักษะที่ช่วยให้เด็กมีสมาธิดีขึ้นได้ โดยสร้างกิจวัตรประจำวันที่ชัดเจน เช่น เวลาอาหาร เวลาเล่น เวลาเข้านอนที่สม่ำเสมอ, เล่นกับลูกมีเวลาคุณภาพร่วมกัน  เล่านิทาน เล่นเกมฝึกสมาธิ วาดรูป ต่อบล็อก, ฝึกให้ลูกรอคอย เช่น ต่อคิว เล่นทีละรอบ ฝึกทำกิจกรรมจนจบ, จำกัดการใช้หน้าจออย่างเหมาะสม เด็กเล็กควรหลีกเลี่ยงหน้าจอในช่วง 2 ปีแรก และใช้ในปริมาณที่เหมาะสม พร้อมมีผู้ใหญ่ร่วมดูและสื่อสารด้วยเสมอ และเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ร่างกาย เล่นกลางแจ้ง ปีนป่าย      ขี่จักรยาน ปลดปล่อยพลังงานส่วนเกินอย่างเหมาะสม

 หากลูกน้อยมีภาวะ "สมาธิสั้น" จะส่งผลต่อพัฒนาการหรือไม่

สมาธิสั้น อาจส่งผลต่อพัฒนาการเด็กในบางด้าน เช่น พัฒนาการทางสังคม เด็กอาจเล่นกับเพื่อนไม่เป็น เล่นแรง พูดแทรก รอคิวไม่เป็น พัฒนาการทางอารมณ์ อารมณ์เปลี่ยนแปลงเร็ว หงุดหงิดง่าย
จัดการความโกรธหรือความผิดหวังได้ยาก ขาดทักษะในการยับยั้งตนเอง พัฒนาการทางการเรียนรู้ ลืมง่าย          ทำกิจกรรมไม่เสร็จ ขาดสมาธิในการเรียน มีปัญหาเรื่องการวางแผนและจัดการเวลา 



 การเลี้ยงดูลูกน้อยที่บ้านหากลูกมีภาวะ "สมาธิสั้น"
เมื่อลูกน้อยถูกวินิจฉัยว่ามี ภาวะสมาธิสั้น สิ่งแรกที่ผู้ปกครองหลายคนรู้สึกคือ ความกังวล การดูแลลูกในภาวะแบบนี้ ไม่ได้ง่าย เพราะต้องอาศัยทั้ง เวลา ความเข้าใจ และความอดทน สิ่งสำคัญที่สุดคือ เวลาที่ใช้ร่วมกันอย่างมีคุณภาพ เล่นกับลูกด้วยใจ ฟังลูกอย่างตั้งใจ ชวนลูกทำกิจกรรมที่ฝึกสมาธิอย่างสนุกสนาน สร้างกิจวัตรง่าย ๆ ที่ลูกทำได้  ร่วมกับการทำตามคำแนะนำจากแพทย์ นักกิจกรรมบำบัด จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจลูกได้ลึกขึ้นและมีแนวทางที่เหมาะกับลูก

กำลังไม่แน่ใจว่าลูกน้อย "สมาธิสั้น" หรือไม่ ? ต้องทำอย่างไรดี

บางครั้งสังเกตเห็นว่า ลูกอยู่ไม่นิ่ง ทำอะไรได้ไม่นาน ขี้เบื่อ ไม่ค่อยฟังเวลาพูด อารมณ์ขึ้นลงเร็ว พฤติกรรมเหล่านี้อาจคล้ายกับอาการเบื้องต้นของภาวะสมาธิสั้น (ADHD)  สิ่งที่ควรทำคือ การสังเกตอย่างมีระบบ เช่น พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งเมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน มีปัญหาเรื่องการจดจ่อหรือทำกิจกรรมไม่เสร็จ อารมณ์เปลี่ยนแปลงเร็ว ควบคุมตนเองได้แค่ไหน ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวส่งผลต่อการเล่น เรียน หรืออยู่ร่วมกับคนอื่นหรือไม่ ถ้าพบว่าพฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้น ต่อเนื่องนานเกิน 6 เดือน และเริ่มส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรพาลูกปรึกษาแพทย์ หรือเข้ารับการประเมินพัฒนาการกับนักกิจกรรมบำบัด 





Kids Plus ให้ความสำคัญกับการดูแลลูกน้อยให้ถูกจุด ปรึกษาเราเลยวันนี้ เพื่อการประเมินพัฒนาการและส่งเสริมลูกหากมีภาวะสมาธิสั้น
Kids Plus ใส่ใจทุกก้าวของพัฒนาการลูกน้อย เรามีนักกิจกรรมบำบัดพร้อมดูแลคุณและลูกอย่างเข้าใจ ด้วยการประเมินพัฒนาการอย่างเป็นระบบ การคัดกรองภาวะสมาธิสั้นด้วยแบบประเมิน (ADHD testing) และการให้คำแนะนำแนวทางการส่งเสริมที่เหมาะกับลูก สามารถติดต่อ Kids Plus ใกล้ฉัน เพื่อก้าวแรกของการดูแลพัฒนาการที่มีคุณภาพ

Related Content
ADHD  คือโรคที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความใส่ใจกับลูกน้อย เพื่อการเติบโตอย่างถูกต้อง
ADHD (Attention Deficit Hyperactivity Disorder) คือสิ่งที่มีผลกระทบต่อลูกน้อย พ่อแม่ควรส่งเสริมลูกน้อยที่มีภาวะสมาธิสั้นให้ถูกจุด เพื่ออนาคตของเด็ก
10 Jul 2025
ทักษะสมอง EF สิ่งที่สามารถช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่สมวัย เติบโตได้อย่างมีคุณภาพ
ทักษะสมอง EF ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เราอาจจะมองข้ามไป สิ่งนี้มีความสำคัญกับลูกน้อยอย่างมาก Kids Plus พร้อมเป็นที่ปรึกษาฟรี เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกน้อยได้อย่างสมวัย
4 Jul 2025
ลูกพัฒนาการช้า เกิดจากอะไร? รวมสาเหตุหลักที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม
ลูกพัฒนาการช้า เกิดจากอะไร? บางครั้งไม่ได้แค่เรื่องร่างกายหรือสมอง แต่ยังเกี่ยวกับการเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม หรือแม้แต่การมองข้ามสิ่งเล็กๆ ที่สำคัญกว่าที่คิด
4 Jul 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว and นโยบายคุกกี้
Compare product
0/4
Remove all
Compare