Share

ลูกสมาธิสั้นหรือไม่ คำถามในใจที่ผู้ปกครองหลายคนกังวลและตั้งข้อสงสัยอยู่บ่อยครั้ง

Last updated: 3 May 2025
27 Views
ลูกสมาธิสั้นจริงหรือไม่ จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกแค่ซน หรือมีภาวะสมาธิสั้นจริงๆ
หลายครั้งที่พ่อแม่รู้สึกเหนื่อยใจกับพฤติกรรมของลูก คำถามที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ คือ ลูกซนและดื้อมากแบบนี้ลูกสมาธิสั้นหรือเปล่า ความกังวลนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะเด็กบางคนอาจแค่มีพลังงานเยอะแต่บางคนอาจแสดงสัญญาณของภาวะที่เรียกว่า ภาวะสมาธิสั้น (ADHD) ซึ่งสามารถพบได้บ่อยในวัยอนุบาลและประถม สิ่งสำคัญคือการแยกแยะว่าพฤติกรรมที่เห็นนั้นเป็นการซนตามวัย หรือเป็นสัญญาณที่ควรสังเกตต่อเนื่อง เช่น ไม่สามารถจดจ่อได้นาน ขัดจังหวะบ่อย หุนหันพลันแล่น ไม่ฟังเมื่อพูดด้วย หรือมีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวต้องแสดงบ่อย


และแสดงหลายสถานที่ หลายสถานการณ์ ถ้าผู้ปกครองเริ่มสงสัยว่าลูกสมาธิสั้น การสังเกตอย่างใกล้ชิดและปรึกษานักวิชาชีพคือก้าวแรกที่ดี เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติของลูกและเลือกวิธีดูแลที่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น เด็กที่แค่อยากรู้อยากเห็นกับเด็กสมาธิสั้น จะมีความแตกต่างชัดเจนเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต้องใช้สมาธิ

ความเสี่ยงของยุคสมัยปัจจุบันมีมากน้อยแค่ไหนที่กำลังอาจจะส่งผลให้ลูกสมาธิสั้น


ในยุคที่เทคโนโลยีช่วยให้ชีวิตสะดวกขึ้น ทุกอย่างรวดเร็ว แค่ปลายนิ้ว เรากำลังอยู่ในโลกที่ข้อมูลไหลเข้าหาเด็กอย่างไม่หยุดพัก ความบันเทิงเปลี่ยนไปในวินาที แอป เกม คลิปสั้น ๆ ถูกออกแบบมาเพื่อดึงความสนใจให้จดจ่อให้น้อยที่สุด และเปลี่ยนสิ่งใหม่เร็วที่สุด สิ่งเหล่านี้แม้จะดูทันสมัยและตอบโจทย์ยุคดิจิทัล แต่ก็อาจซ่อนความเสี่ยงบางอย่างโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะกับพัฒนาการสมาธิของเด็กเล็ก ความสามารถในการรอคอย การตั้งใจหรือโฟกัสกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งกำลังกลายเป็นเรื่องที่ยากขึ้นเรื่อย ๆ

ผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยเริ่มตั้งคำถามว่า ทำไมลูกถึงไม่มีความอดทน หงุดหงิดง่าย และเปลี่ยนความสนใจตลอดเวลา นี่อาจเป็นสัญญาณของภาวะสมาธิสั้น (ADHD) ที่กำลังเพิ่มมากขึ้นในยุคนี้ สิ่งสำคัญคือการตระหนักว่า แม้โลกจะเปลี่ยน แต่สมองเด็กยังต้องการเวลา พื้นที่ และกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม ไม่ใช่แค่เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกสมาธิสั้น แต่เพื่อให้เด็กสามารถเติบโตอย่างสมดุลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

ถ้าลูกสมาธิสั้นจริงๆ จะช่วยเหลือและส่งเสริมลูกได้อย่างไร
หากคุณพ่อคุณแม่พบว่า ลูกสมาธิสั้น จริง ๆ สิ่งแรกที่ทำได้คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลี้ยงดูเบื้องต้น เช่น การลดหรืองดสื่อทางเดียว การสร้างกิจวัตรประจำวันที่ชัดเจน เป็นเวลา การใช้คำสั่งที่สั้นและชัดเจน รวมถึงการมีเวลาให้ความเอาใจใส่ในตัวเด็กมากขึ้น จะช่วยให้ลูกค่อย ๆ จัดระบบความคิดและการกระทำได้ดีขึ้น การดูแลเด็กสมาธิสั้น ไม่ใช่แค่เรื่องของความรักและความเข้าใจเท่านั้น แต่ต้องอาศัยความรู้ ความอดทน และเวลา รวมถึงการส่งเสริมที่มีเป้าหมายและออกแบบมาอย่างเหมาะสม 


การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ จะช่วยวางแผนการดูแลที่เหมาะกับลูกแต่ละคน และเพิ่มโอกาสในการรักษาให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ลูกสมาธิสั้น มีพัฒนาการที่ดี และสามารถใช้ศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่ในระยะยาว

หากพบว่าลูกสมาธิสั้น จะสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนเด็กทั่วไปหรือไม่


หากพบว่า ลูกสมาธิสั้น พ่อแม่หลายคนมักกังวลว่าเขาจะใช้ชีวิตได้เหมือนเด็กทั่วไปหรือไม่คำตอบคือ ได้  เด็กสมาธิสั้น ไม่ได้หมายความว่าไม่มีศักยภาพ แต่เขาอาจต้องการวิธีการเรียนรู้และการดูแลที่ต่างออกไป เช่น การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม การฝึกวินัยเชิงบวก การฝึกกิจกรรมบำบัด หรือการทำงานร่วมกับนักวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง เด็กจำนวนมากที่มีภาวะสมาธิสั้นเติบโตขึ้นมาอย่างประสบความสำเร็จ มีความสามารถในการเรียน การเข้าสังคม และการทำงานได้เหมือนกับคนอื่นๆ กุญแจสำคัญคือ การเข้าใจและให้โอกาส พร้อมสนับสนุนด้วยความรักและความสม่ำเสมอ เพื่อให้เขาได้แสดงศักยภาพที่แท้จริงของเขาออกมาอย่างเต็มที่

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญวันนี้เพื่อวินิจฉัยว่าลูกสมาธิสั้นจริงหรือไม่ 
เมื่อคุณเริ่มสังเกตเห็นว่าลูกมีปัญหาเรื่องสมาธิ ขาดความตั้งใจ วอกแวกง่าย หรือควบคุมอารมณ์ตนเองได้ยาก อย่ารอให้พฤติกรรมเหล่านี้กลายเป็นอุปสรรคในการเรียนรู้และใช้ชีวิต ภาวะสมาธิสั้น (ADHD) ไม่ใช่เรื่องเล็กและไม่ควรเดาเอาเอง 


การพามารับการประเมินพัฒนาการโดยผู้เชี่ยวชาญคือก้าวแรกที่สำคัญที่สุด เพราะหากลูกสมาธิสั้นจริง การดูแลต้องอาศัยความเข้าใจเฉพาะทางและการวางแผนที่ตรงจุด อย่ารอให้สายเกินไป การวินิจฉัยที่เร็วและแม่นยำ จะเปิดโอกาสให้ลูกได้รับการดูแลและส่งเสริมอย่างเหมาะสม

กิจกรรมบำบัด เรื่อง(ไม่)ใหม่ ที่ตอบโจทย์หากลูกสมาธิสั้น
กิจกรรมบำบัด ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่กลับเป็นทางเลือกที่ ใช่ สำหรับหลายครอบครัวที่กำลังเผชิญความกังวลว่า ลูกสมาธิสั้น หรือไม่ เพราะในโลกที่เด็กต้องเจอสิ่งกระตุ้นมากมาย การฝึกทักษะผ่านกิจกรรมที่ออกแบบเฉพาะ ช่วยให้สมองจัดระบบดีขึ้น มีสมาธิมากขึ้น

และเรียนรู้การควบคุมตัวเองอย่างค่อยเป็นค่อยไป หากคุณพ่อคุณแม่เริ่มรู้สึกว่า ลูกสมาธิสั้น หรือมีปัญหาในการจดจ่อ ไม่ฟัง ไม่รอ การเริ่มต้นด้วยกิจกรรมบำบัด อาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ช่วยพัฒนาศักยภาพลูกอย่างยั่งยืน

กิจกรรมบำบัดต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นหรือไม่ เพื่อส่งเสริมหากลูกสมาธิสั้น
กิจกรรมบำบัดเป็นกระบวนการส่งเสริมพัฒนาการที่มีเป้าหมายชัดเจน โดยเฉพาะเมื่อต้องดูแลลูกสมาธิสั้น การออกแบบกิจกรรมต้องอิงจากหลักวิชาการ และปรับให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะของเด็กแต่ละคน แม้พ่อแม่จะสามารถทำกิจกรรมร่วมกับลูกได้ในชีวิตประจำวัน แต่การวางแผนและดูแลอย่างเป็นระบบ ควรได้รับคำแนะนำจากนักกิจกรรมบำบัดที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

เพื่อให้แน่ใจว่าการฝึกนั้น ตรงจุด และมีประสิทธิภาพจริงเพราะหากลูกสมาธิสั้นและไม่ได้รับการส่งเสริมอย่างเหมาะสม อาจส่งผลต่อการเรียนรู้ พฤติกรรม และพัฒนาการในระยะยาว ดังนั้นการเริ่มต้นด้วยผู้เชี่ยวชาญคือการลงทุนที่คุ้มค่าในอนาคต

Kids Plus เข้าใจและมีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาหากคุณพ่อคุณแม่กังวลว่าลูกสมาธิสั้น หรือมีความเสี่ยง ที่เกี่ยวข้อง


ที่ Kids Plus เราเข้าใจดีว่าความกังวลเรื่อง ลูกสมาธิสั้น ไม่ใช่แค่เรื่องพฤติกรรมในวันนี้ แต่คือความห่วงใยในอนาคตของลูก ๆ พ่อแม่หลายท่านไม่เพียงแค่สงสัยว่าลูกอาจมีภาวะสมาธิสั้น (ADHD) หรือไม่ แต่ยังอยากให้ลูกเติบโตได้อย่างสมวัย มีพัฒนาการรอบด้าน และพร้อมสำหรับการเรียนรู้ในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เราเชื่อว่าเด็กทุกคนมีศักยภาพและที่ Kids Plus  มีคอร์สที่ออกแบบมาเฉพาะ

เพื่อส่งเสริมเด็กที่อาจมีภาวะสมาธิสั้น(ADHD) หรือมีความต้องการส่งเสริมสมาธิ การควบคุมกำกับตนเอง เช่น คอร์สพัฒนาทักษะEF (Up Able), การฝึกกิจกรรมบำบัด (OT), การฝึกสมองพัฒนาสมาธิ (Up Span) โดยนักวิชาชีพที่มีประสบการณ์ หากคุณพ่อคุณแม่เริ่มรู้สึกกังวล อย่ารอให้พฤติกรรมเล็ก ๆ กลายเป็นปัญหาใหญ่ Kids Plus พร้อมเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการพูดคุย วางแผน และช่วยให้ลูกของคุณเติบโตอย่างมั่นใจในแบบที่เขาเป็น

Kids Plus ใกล้คุณ 7 สาขา มีกิจกรรมและผู้เชี่ยวชาญให้คุณพ่อคุณแม่คลายกังวลว่าลูกสมาธิสั้นหรือไม่
Kids Plus ใกล้คุณ 7 สาขา พร้อมเป็นพื้นที่แห่งความเข้าใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กังวลว่าลูกอาจมีภาวะสมาธิสั้น(ADHD) เรามีกิจกรรมที่ออกแบบมาเฉพาะเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ และทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการดูแลเด็กอย่างตรงจุด ทุกสาขาของ Kids Plus สามารถรองรับการประเมินพัฒนาการ อย่างเป็นระบบ และให้คำแนะนำที่เหมาะสม เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่มั่นใจว่าลูกจะได้รับการดูแลที่เหมาะสมที่สุด เพราะเรารู้ดีว่าไม่ใช่แค่ความกังวล แต่คือความหวังของพ่อแม่ที่อยากเห็นลูกเติบโตอย่างแข็งแรง เก่ง และมีความสุขในแบบของตัวเอง


Related Content
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กเพื่อสร้างอนาคตที่ดีให้กับลูกๆด้วยการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กกับเคล็ดลับจาก Kids Plus เพื่อการเลี้ยงดูลูกอย่างตรงจุด อยากให้ลูกเก่งมาอ่านบทความนี้ไปพร้อมกัน
25 Apr 2025
พัฒนาการช้าคืออะไร
อย่าปล่อยให้พัฒนาการช้ากลายเป็นอุปสรรค ช่วยลูกพัฒนาอย่างเหมาะสม และให้ KIDSPLUS ดูแลพัฒนาการของเด็กอย่างมืออาชีพ
18 Apr 2025
กระตุ้นพัฒนาการสำคัญอย่างไรต่อเด็กในแต่ละช่วงวัย?
พัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัยมีความแตกต่างกัน  ซึ่งแต่ละช่วงวัยก็ต้องการการกระตุ้นที่ต่างกัน เพื่อให้เด็กสามารถเติบโตขึ้นอย่างสมวัยและมีความมั่นใจในตัวเอง พัฒนาการของเด็กมีหลายด้านทั้งทางด้านร่างกาย (กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก) ด้านภาษา (การเข้าใจภาษา การใช้ภาษา) ด้านอารมณ์และสังคม การกระตุ้นพัฒนาการเด็กจึงมีความสำคัญเพื่อช่วยส่งเสริมให้เด็กมีทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ การเข้าสังคม และการใช้ชีวิตประจำวัน
11 Apr 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว and นโยบายคุกกี้
Compare product
0/4
Remove all
Compare