ทักษะสมอง EF สิ่งที่สามารถช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่สมวัย เติบโตได้อย่างมีคุณภาพ
อัพเดทล่าสุด: 4 ก.ค. 2025
23 ผู้เข้าชม
ทักษะสมอง EF คืออะไร ?
ทักษะสมอง EF หรือ Executive Functions คือชุดทักษะของสมองส่วนหน้า ที่มีหน้าที่และกระบวนการสำคัญในการให้มนุษย์ รู้จักระบบคิดก่อนทำ และสามารถควบคุมตนเองได้ในเหตุการณ์และบริบทต่าง ๆ โดยทักษะสมอง EF ไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงการพัฒนาการเด็ก แต่กลับเป็นสิ่งที่หลายครอบครัวอาจไม่รู้ว่ากำลัง ขาด อยู่ ทักษะสมอง EF เป็นทักษะสำคัญที่ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการสมวัย เรียนรู้ได้ดีขึ้น และปรับตัวกับสังคมรอบตัวได้อย่างสมวัยทักษะสมอง EF มีความสำคัญอย่างไรกับลูกน้อย
หากลูกน้อยไม่มี ทักษะสมอง EF ที่ดีพอ เด็ก ๆนั้น อาจขาดทักษะการจัดการกับอารมณ์ตัวเองไม่ได้ วางแผนไม่เป็น ไม่สามารถจดจ่อกับงานหรือสิ่งใดได้นานในอนาคต สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่แค่เรื่อง ความดื้อ หรือ ไม่ตั้งใจ แต่คือ สิ่งที่หลายครอบครัวเจอโดยไม่รู้ตัว เด็กที่ไม่มีทักษะสมอง EF มักจะเติบโตอย่างมีอุปสรรค ทั้งด้านการเรียนรู้ การเข้าสังคม และอารมณ์ พ่อแม่จึงควรกลับมาใส่ใจเวลาที่มีกับลูกอย่างจริงจัง ให้ทุกมิติที่ได้ใช้เวลาด้วยกันเป็นเวลาคุณภาพ สามารถสร้างศักยภาพในอนาคตได้ทักษะสมอง EF เป็นเรื่องที่หลายคนมองข้าม
ทักษะสมอง EF สามารถสร้างได้ เริ่มจากที่บ้าน
เพราะการพัฒนาทักษะสมอง EF ไม่ต้องเริ่มที่โรงเรียนเสมอไป เพราะหัวใจสำคัญนั้นคือการมีกิจกรรมที่กระตุ้น เด็ก ๆ ได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ผู้อ่าน สามารถเป็น คุณครูคนแรก ที่ช่วยฝึกทักษะสมอง EF นี้ให้ลูกผ่านกิจกรรมง่าย ๆ เช่น เล่นเกมวางแผน ทำงานบ้านร่วมกัน หรือแม้แต่การฝึกให้รู้จักกับการรอคอย ในหลายกรณี เด็กที่มีภาวะ สมาธิสั้น พัฒนาการช้า ล้วนแต่อาจยังไม่เคยได้รับการฝึกทักษะสมอง EF อย่างเหมาะสมและถูกจุด การเริ่มต้นจากบ้านจึงสำคัญมาก ซึ่งหากมีการสนับสนุนอย่างเต็มที่ จะทำให้เราหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะตามมาในอนาคตได้ โดยหากในกรณีที่เด็กอาจจะมีปัญหา หรือคุณพ่อคุณแม่ไม่มีเวลาจริง ๆ การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอาจจะเป็นทางออกเช่นกันสัญญาณว่าลูกน้อยขาด ทักษะสมอง EF
1. ขาดความยับยั้งชั่งใจ แม้เป็นเรื่องที่ควรรอคอย
เช่น ไม่สามารถรอของเล่น รออาหาร หรือหยุดการกระทำเมื่อถูกบอกให้หยุด พฤติกรรมแบบนี้มักเกี่ยวกับการยั้งคิด ซึ่งเป็นหนึ่งใน ทักษะสมอง EF ที่ควรเสริม2. มีปัญหาด้านการวางแผนอะไรง่าย ๆ
เช่น ไม่สามารถจัดลำดับกิจกรรมในแต่ละวันได้ หรือวางแผนทำการบ้านง่าย ๆ แล้วทำหลงลืม เด็กอาจไม่รู้ว่าต้องเริ่มตรงไหนก่อนหลัง และอาจทำให้ดูเหมือน ไม่ตั้งใจ เพราะขาดการกระตุ้น ทักษะสมอง EF3. ระเบิดอารมณ์โกรธรุนแรงได้ง่าย
แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย เด็กบางคนก็อาจระเบิดอารมณ์อย่างควบคุมไม่ได้ นี่คืออีกสัญญาณหนึ่งของการขาด ทักษะสมอง EF ซึ่งมักพบในเด็กที่อาจจะส่งผลให้เกิดภาวะ เด็กสมาธิสั้นร่วมด้วย โดยเด็กนั้นอาจเพียงยังไม่ได้รับการฝึกฝนด้านการควบคุมตนเอง การพัฒนาเสริมทักษะสมอง EF จึงเป็นทางออกที่สำคัญทักษะสมอง EF มีความสำคัญ การสนับสนุนลูกน้อย ต้องเริ่มต้นตั้งแต่วัย 2 ขวบ
ช่วงวัย 2-5 ขวบเป็น ช่วงสำคัญ ของการพัฒนา ทักษะสมอง EF เพราะในช่วงนี้ เด็ก ๆมีความยืดหยุ่นสูง พร้อมรับการฝึกฝนอย่างเป็นธรรมชาติ หากมีการฝึกฝนและให้คำแนะนำอย่างถูกต้อง เด็กในวัยนี้จึงควรได้รับกิจกรรมที่กระตุ้นให้เขาได้คิด แก้ปัญหา ควบคุมตัวเอง และจัดการความคิดในหัวได้อย่างมีระบบ อันจะเป็นการต่อยอดที่มากกว่าคำว่า เติบโตอย่างสมวัย ให้เป็นก้าวไกลได้ในศักยภาพของตัวลูกน้อยพัฒนา ทักษะสมอง EF กับ Kids Plus โดยโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อลูกน้อย
ผ่านกิจกรรมเฉพาะด้าน เช่น เกมพัฒนาสมอง การเล่นให้เกิดการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของเด็กในกิจกรรมต่าง ๆ ที่สนุกสนานแต่เกิดการเสริมสร้างพัฒนาการที่ดี Kids plusมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมดูแลลูกน้อยในแบบที่ไม่ใช่แค่การเรียนรู้ แต่คือการเสริมทักษะชีวิต ทักษะสมอง EF ที่จะติดตัวเขาไปตลอดทั้งวัยเรียนและวัยผู้ใหญ่
Tags :
บทความที่เกี่ยวข้อง
ลูกพัฒนาการช้า เกิดจากอะไร? บางครั้งไม่ได้แค่เรื่องร่างกายหรือสมอง แต่ยังเกี่ยวกับการเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม หรือแม้แต่การมองข้ามสิ่งเล็กๆ ที่สำคัญกว่าที่คิด
4 ก.ค. 2025
เมื่อลูกน้อยอาจเสี่ยงมีภาวะเด็กสมาธิสั้นหรือ ADHD จะเกิดผลอย่างไรในอนาคตบ้าง
27 มิ.ย. 2025
สมาธิสั้น คือ ภาวะที่หลายคนมองข้าม ทั้งที่ส่งผลต่อการเรียน ความสัมพันธ์ และสุขภาพจิตของเด็กได้ในระยะยาว
27 มิ.ย. 2025