ADHD หรือภาวะเด็กสมาธิสั้นส่งผลอย่างไรกับลูกน้อย Kids Plus มีคำตอบ
อัพเดทล่าสุด: 27 มิ.ย. 2025
36 ผู้เข้าชม
ภาวะ ADHD ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ผู้ปกครองต้องใส่ใจเด็ก ๆ ให้มากยิ่งขึ้น
ทุกวันนี้เรามักจะได้ยินคำว่า สมาธิสั้น และ ADHD ซ้ำแล้วซ้ำเล่า มันเริ่มอยู่ในวงสนทนาอ่านพบได้บ่อยบนหน้าจอ มันค่อนข้างใกล้ตัวเราเข้าไปทุกวัน จากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปทำให้ลูกๆ ของเรานั้นกำลังเติบโตขึ้นท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความเสี่ยง ทั้งจากหน้าจอดิจิทัล เทคโนโลยี การเร่งรีบ และการขาดปฏิสัมพันธ์ แม้ว่าการให้เวลากับลูกอย่างเต็มที่ในยุคที่พ่อแม่ต้องทำงานเยอะ อาจเป็นเรื่องยาก แต่ความใส่ใจไม่จำเป็นต้องใช้เวลามากเสมอไป การสังเกตพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ การฟังลูกอย่างตั้งใจ และการเปิดใจเรียนรู้เกี่ยวกับภาวะต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับเด็ก เช่น ADHD จะช่วยให้เราดูแลและเข้าใจลูกได้ดีขึ้นอย่างแท้จริง
สาเหตุของโรคสมาธิสั้น หรือภาวะ ADHD ทั้งทางตรงและทางอ้อม
เด็กสมาธิสั้น เกิดจากอะไร แม้ภาวะสมาธิสั้น (ADHD) จะมีพื้นฐานจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมหรือภาวะทางชีวภาพตั้งแต่กำเนิด แต่ในความเป็นจริง อาการที่เด็กแสดงออกนั้นมักไม่ได้เกิดจากปัจจัยทางชีวภาพเพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นผลสะท้อนจาก การเลี้ยงดูและ สภาพแวดล้อม ที่มีบทบาทไม่แพ้กัน เด็กบางคนอาจมีความเปราะบางทางชีวภาพอยู่แล้ว หากได้รับการเลี้ยงดูที่ไม่เข้าใจธรรมชาติของเด็ก เช่น การขาดวินัยที่เหมาะสม การกระตุ้นที่เร็วหรือช้าเกินวัย หรือการเติบโตในครอบครัวที่มีความเครียดสะสม ก็อาจทำให้อาการสมาธิสั้นชัดเจนขึ้นได้มาก ขณะเดียวกัน เด็กที่ไม่มีพันธุกรรมเกี่ยวข้องกับโรคนี้ ก็อาจแสดงพฤติกรรมคล้ายสมาธิสั้นได้เช่นกัน หากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่กดดันหรือขาดการดูแลที่สอดคล้องกับวัย
นอกจากนี้ งานวิจัยยังพบว่า เด็กที่มารดาได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ มีการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือได้รับสารพิษ เช่น ตะกั่ว ขณะตั้งครรภ์ ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเด็กสมาธิสั้นสูงขึ้น รวมถึงสถิติที่ระบุว่า เด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นประมาณ 3040% มักมีความบกพร่องด้านการเรียนรู้ (Learning Disorders) ร่วมด้วย ดังนั้นการเข้าใจทั้งสองมิติ ทั้ง ธรรมชาติของเด็ก และ สภาพแวดล้อมที่หล่อหลอมเด็ก จึงเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยลดความเสี่ยงและดูแลเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ
ทำไมเด็ก ADHD มักมีปัญหาด้านการเรียนควบคู่
จากข้อมูลทางวิชาการพบว่า เด็กที่มีภาวะ ADHD มากถึง 30-40% อาจมีภาวะ Learning Disorders (LD) ร่วมด้วย เช่น ความบกพร่องด้านการอ่าน (Dyslexia) การเขียน (Dysgraphia) หรือคณิตศาสตร์ (Dyscalculia) ความสัมพันธ์นี้เกิดจากการที่สมองส่วนที่ควบคุมการจดจ่อและการประมวลผลข้อมูลทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่ เด็กไม่ตั้งใจเรียน อย่างที่ผู้ใหญ่หลายคนเข้าใจ แต่เกิดจากข้อจำกัดทางระบบประสาทและการทำงานของสมองโดยตรง การคัดกรองภาวะ ADHD และ Learning Disorders ตั้งแต่เนิ่นๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้เด็กได้รับการช่วยเหลืออย่างตรงจุด
ถ้าลูกมี ADHD แล้วไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
หากเด็กที่มีภาวะ ADHD แล้วไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก ผลกระทบที่ตามมาอาจรุนแรงและยาวนานโดยมีตัวอย่างผลกระทบดังนี้
1. ADHD อาจจะส่งผลให้เกิด ปัญหาการเข้าสังคม
ADHD อาจส่งผลให้เกิดปัญหาในการเข้าสังคมตั้งแต่วัยเด็ก เพราะหนึ่งในอาการสำคัญของเด็กสมาธิสั้น คือ ความใจร้อน ขาดการยับยั้งชั่งใจ และการควบคุมอารมณ์ที่ไม่ดี เด็กบางคนพูดแทรกเพื่อน เล่นแรง ตัดสินใจเร็วโดยไม่ทันคิด หรือหงุดหงิดง่ายเมื่อไม่ได้ดั่งใจ พฤติกรรมเหล่านี้อาจทำให้เพื่อนรู้สึกรำคาญ รู้สึกว่าเล่นด้วยแล้วไม่สนุก หรือรู้สึกไม่ปลอดภัย จนเกิดการปฏิเสธทางสังคม เด็กบางคนจึงเริ่มถูกแยกจากกลุ่ม ไม่ค่อยมีเพื่อน และค่อยๆ สูญเสียความมั่นใจในตนเอง ถ้าปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการดูแล เด็กอาจโตขึ้นเป็นวัยรุ่นที่รู้สึกโดดเดี่ยว ไม่เข้าใจวิธีสร้างความสัมพันธ์ และขาดทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งอาจกระทบต่อทั้งชีวิตการเรียน การทำงาน และชีวิตส่วนตัวในอนาคต
2.ส่งเสริมลูกลำบาก หากเด็กที่มีภาวะ ADHD ไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกจุด
เด็กที่มีภาวะ ADHD มักมีศักยภาพในแบบของตัวเอง บางคนคิดไว มีจินตนาการสูง หรือมีพลังในการเรียนรู้ที่น่าทึ่ง แต่กลับถูกเข้าใจผิดว่า ไม่ตั้งใจ หรือ ไม่พยายาม เพราะพฤติกรรมภายนอก เช่น ขาดสมาธิ วอกแวก ใจร้อน หรือควบคุมอารมณ์ไม่ได้ หากผู้ปกครองและครูมองข้ามพื้นฐานของปัญหา และไม่ได้ดูแลอย่างเข้าใจ เด็กอาจสูญเสียความมั่นใจ และไม่สามารถพัฒนาเต็มศักยภาพของตัวเองได้ ในความเป็นจริง เด็กสมาธิสั้นต้องการการดูแลเฉพาะและความเข้าใจ เพื่อช่วยให้เขาเรียนรู้การจัดการตัวเอง ควบคุมอารมณ์ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีได้ การเติมเต็มเหล่านี้ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างครอบครัว โรงเรียน และนักวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
3. ภาวะ ADHD อาจจะนำไปสู่ ภาวะซึมเศร้าของเด็กในอนาคต
เด็กที่มีภาวะ ADHD มักต้องเผชิญกับอุปสรรคในชีวิตประจำวัน ทั้งด้านการเรียน การควบคุมอารมณ์ และการเข้าสังคม หากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ปัญหาเหล่านี้จะสะสมเป็นความรู้สึกว่าตนเอง เป็นเด็กไม่ดี ไม่เก่ง ดื้อ บางคนอาจถูกตำหนิบ่อยๆ หรือถูกมองว่า เป็นตัวปัญหา จนค่อยๆ สูญเสียความมั่นใจ และเริ่มรู้สึกโดดเดี่ยว เมื่อสะสมเป็นเวลานาน เด็กสมาธิสั้นที่ไม่ได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสม มีความเสี่ยงสูงที่จะพัฒนาไปสู่ภาวะซึมเศร้าในวัยเด็กหรือวัยรุ่น โดยเฉพาะหากไม่มีใครเข้าใจหรือช่วยให้เขารับมือกับความยากลำบากที่เจออยู่ทุกวัน การดูแลตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยความเข้าใจ ไม่ใช่แค่ช่วยเรื่องพฤติกรรม แต่ยังช่วยป้องกันผลกระทบทางใจที่อาจฝังลึกและเรื้อรังในระยะยาวอีกด้วย
เด็กสมาธิสั้น หรือ ADHD ควรได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง เพื่อการดูแลลูกน้อยอย่างถูกจุด
พฤติกรรมบางอย่างของเด็ก เช่น ขาดสมาธิ อยู่ไม่นิ่ง หรือหุนหันพลันแล่น อาจไม่ใช่แค่ เด็กซนตามวัย แต่อาจเป็นสัญญาณของภาวะเด็กสมาธิสั้น หรือ ADHD ที่ควรได้รับการประเมินจากแพทย์เฉพาะทางเพื่อให้เข้าใจต้นตอที่แท้จริง การวินิจฉัยที่ถูกต้องตั้งแต่เนิ่นๆ ช่วยให้เราสามารถวางแนวทางการดูแลที่เหมาะสม และป้องกันไม่ให้ปัญหาเล็กน้อยในวันนี้ กลายเป็นเรื่องใหญ่ที่แก้ไขยากในวันข้างหน้าเพราะในความเป็นจริง เด็กสมาธิสั้น ไม่ได้ขาดศักยภาพแต่พวกเขาต้องการการสนับสนุนที่ตรงจุด เพื่อช่วยให้เรียนรู้ จัดการตนเอง และพัฒนาทักษะต่างๆ ได้อย่างสมวัย หากได้รับการดูแลอย่างเข้าใจ เด็กกลุ่มนี้สามารถเติบโตอย่างมั่นใจ และมีโอกาสแสดงศักยภาพที่โดดเด่นในแบบของตนเองอย่างเต็มที่
เพราะ Kids Plus เข้าใจว่า เด็กสมาธิสั้น (ADHD) ไม่ใช่ปัญหาที่แก้ไม่ได้ เพียงแค่ต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสม
เพราะ Kids Plus เข้าใจว่าเด็กแต่ละคนมีศักยภาพในแบบของตัวเอง เด็กสมาธิสั้น (ADHD) ไม่ใช่ปัญหาที่แก้ไม่ได้ เพียงแค่ต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสม ที่ Kids Plus เราให้ความสำคัญกับทุกขั้นตอน ตั้งแต่การประเมินพัฒนาการ การให้คำแนะนำและส่งเสริมพัฒนาการกับนักกิจกรรมบำบัด การเลือกสรรค์คอร์สเสริมสมาธิ (Up Span) เสริมทักษะEF (Up Able) ให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนตามช่วงวัย
หากคุณกำลังมองหาวิธีที่เข้าใจลูก ไม่ตัดสิน และเห็นคุณค่าที่เขามีอยู่ในตัว ลองมาพูดคุยกับเรา Kids Plus ใกล้ฉันยินดีให้บริการทุกสาขา
Tags :
บทความที่เกี่ยวข้อง
ทักษะสมอง EF ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เราอาจจะมองข้ามไป สิ่งนี้มีความสำคัญกับลูกน้อยอย่างมาก Kids Plus พร้อมเป็นที่ปรึกษาฟรี เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกน้อยได้อย่างสมวัย
4 ก.ค. 2025
ลูกพัฒนาการช้า เกิดจากอะไร? บางครั้งไม่ได้แค่เรื่องร่างกายหรือสมอง แต่ยังเกี่ยวกับการเลี้ยงดู สภาพแวดล้อม หรือแม้แต่การมองข้ามสิ่งเล็กๆ ที่สำคัญกว่าที่คิด
4 ก.ค. 2025
สมาธิสั้น คือ ภาวะที่หลายคนมองข้าม ทั้งที่ส่งผลต่อการเรียน ความสัมพันธ์ และสุขภาพจิตของเด็กได้ในระยะยาว
27 มิ.ย. 2025